ฝ้า (Melasma) หนึ่งในปัญหาผิวที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาชวนกลุ้มใจที่ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง ถึงแม้ไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหรือคัน แต่การมีสีผิวไม่ไม่สม่ำเสมอ มีปื้นสีน้ำตาล ดำๆ อยู่บนใบหน้า จนต้องโบกเครื่องสำอางมาปิดบังไว้ จนส่งผลต่อความมั่นใจ และการเข้าสังคม นับวันฝ้าก็ยิ่งเข้มขึ้นจนอยากรักษา แต่ปัจจุบันมีวิธีรักษาที่หลากหลายมาก แต่วิธีไหนจะเหมาะสมที่สุด เพื่อให้ผิวกลับมาเนียนใสอีกครั้ง ในบทความนี้หมอจะมาอธิบายเกี่ยวกับฝ้า รวมทั้งวิธีการรักษาฝ้ามาให้ทุกคนได้ทราบกันครับ
ฝ้า คืออะไร?
ฝ้า (Melasma) เกิดจากเม็ดสีเมลานินใต้ผิวหนังนั้นมีความผิดปกติทำให้เกิดการผลิตเม็ดสีขึ้นมามากเกินเมื่อเม็ดสีถูกสะสมมากเพิ่มนานวันเข้าก็ทำให้เกิดปัญหาฝ้ามีลักษณะเป็นรอยปื้นมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่โดนแดดเยอะอย่างใบหน้า
ฝ้าสามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงส่วนใหญ่พบในวัยกลางคน อายุประมาณ 30-40 ปี และในสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่รับประทานยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด และสตรีที่รับการรักษาด้วยฮอร์โมน แต่สามารถพบได้ในผู้ชายเช่นเดียวกัน
บริเวณที่มักเกิดฝ้า
ฝ้าสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่โดยปกติมักพบในบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อยอย่าง
- โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง
- หน้าผาก
- ขมับ
- จมูก
- รอบขอบปาก
- ลำตัว รวมถึงแขน
ชนิดของฝ้า
โดยฝ้า จะแบ่งได้เป็น 4 ชนิดหลัก ๆ ตามสาเหตุและบริเวณที่ปรากฏขึ้นดังนี้
- ฝ้าตื้น (Epidermal) : เป็นฝ้าที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ มีขอบชัดเจน เป็นฝ้าที่เกิดในผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) ฝ้าชนิดนี้สามารถรักษาให้หายได้ง่ายกว่าฝ้าชนิดอื่น ด้วยการทายารักษาฝ้าและการใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลบเลือนฝ้าตื้นได้ดีขึ้น
- ฝ้าลึก (Dermal) : เป็นปัญหาฝ้าที่พบได้บ่อยอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมฟ้า สีม่วงอมน้ำเงิน เป็นฝ้าที่เกิดในชั้นหนังแท้ทำให้มองเห็นขอบเขตฝ้าไม่ชัดเจน และมีสีที่จางกว่าฝ้าตื้น จึงจัดว่าเป็นฝ้าที่รักษายากกว่าฝ้าแบบตื้น
- ฝ้าแดด (Sunburn) : เป็นปัญหาฝ้าที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดเพราะฝ้าชนิดนี้เกิดจากรังสี UVA และ UVB จากแสงแดด และรังสีหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์ และหลอดไฟ มีลักษณะเริ่มแรกเป็นสีออกน้ำตาลคล้ำ ดำ แดงหรืออมเทาม่วง ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษา สีของฝ้าชนิดนี้ก็จะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ
- ฝ้าเลือด (Vascular melasma) : มีลักษณะสีแดงปนน้ำตาล หรือมีลักษณะคล้ายเส้นเลือด ฝ้าเลือดเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง ทำให้เส้นเลือดฝอยแตก และกระจุกบริเวณใต้ผิวหนัง ฝ้าเลือดเกิดพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การรับประทานยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ และการโดนแสงแดดมากเกินไป และสามารถเกิดขึ้นจากการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีสารเสตียรอยด์ สารปรอท หรือการลอกผิวที่อันตราย เป็นต้น ทำให้ผิวหน้าบางและแพ้ง่ายกว่าปกติ
สาเหตุของการเกิดฝ้า
- การโดนแสงแดดแรง ๆ : ในแสงแดดเต็มไปด้วยรังสี UV ทั้ง UVA และ UVB ในปริมาณที่มากที่สามารถทะลุผ่านผิวหนังและก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวมากมาย จากผลวิจัยพบว่า 70% ของการเกิดมาฝ้ามาจากแสงแดด
- กรรมพันธุ์ : เป็นอีกสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ครับ จากผลการวิจัยพบว่าหากมีพ่อแม่ที่เป็นฝ้า โอกาสที่จะถ่ายทอดมายังลูกมีมากถึง 30 – 50% และมักพบในคนเอเชียมากกว่าคนยุโรป
- ฮอร์โมน : ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน (progesterone) สัมพันธ์กับการเกิดฝ้า พบได้บ่อยในผู้หญิงที่การตั้งครรภ์ หลังคลอด ทานยาคุมกำเนิด ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนและการรักษาด้วยฮอร์โมน
- ยารับประทานบางชนิด : เช่น ยากันชักกลุ่ม Phenytoin หรือยาในกลุ่มที่ก่อให้เกิดการไวต่อแสง (photosensitizing drugs) สามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้
- การใช้เครื่องสำอางที่มีสารเคมี : การใช้เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของสารเสตียรอยด์ สารปรอท นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายแล้วยังทำให้ผิวบาง แพ้ง่ายและกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้อีกด้วย
- แสงสีฟ้า : จากคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และหลอดไฟ ทำให้เกิดความร้อนสะสม รบกวนเมลานีนหรือเม็ดสีผิว ทำให้เกิดฝ้าที่เด่นชัดขึ้น
- มลภาวะ : ฝุ่น ควัน ทำให้ผิวอ่อนแอและเกิดการอักเสบ กระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ
วิธีรักษาฝ้า
อย่างที่หมอได้เกริ่นไปตอนต้น ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาฝ้าหลายวิธีที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจนฝ้าจางลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในบางครั้งหมอจะต้องใช้การรักษาหลาย ๆ วิธีด้วยกันเพราะอาจเป็นฝ้าหลายชนิด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุดครับ
- การทำทรีทเม้นท์ : เป็นการผลักวิตามินบำรุงเป็นกลุ่มของไวท์เทนนิ่งมีสาร AHA หรือตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวลดการสร้างเม็ดสีลงวิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ที่เป็นฝ้าไม่เข้มและตื้นๆ เท่านั้นเพื่อให้ฝ้าแลดูจางลง
- การทายารักษาฝ้า: ในปัจจุบันมียารักษาฝ้ามากมาย โดยส่วนใหญ่จะใส่ส่วนผสมที่ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสี เช่น ยากรดวิตามินเอหรือเรตินอยด์ ยากลุ่มทรานิซามิก ครีมทาที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ ครีมไวท์เทนนิ่งอื่น ๆ แต่การใช้ยารักษาฝ้ามีข้อควรระวังคือก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์ครับ เพราะหากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อผิวหนัง เช่น เป็นผื่นแพ้ ระคายเคือง แสบร้อน อักเสบ ผิวไหม้ และอาจกระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้นได้เช่นกัน
- การทำเลเซอร์ทำลายเม็ดสีเมลานิน : เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูงและยังได้รับมาตรฐานความปลอดภัย และเห็นผลจริงเร็วกว่าการทาครีม การรักษาด้วยเลเซอร์ จะใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงลงไปบริเวณที่เกิดฝ้าโดยตรงและทำลายเซลล์สร้างเม็ดสีด้วยความร้อนอย่างเช่น Picosure Pro นวัตกรรมเลเซอร์ Picosecond จาก Cynosure ผู้ผลิตเครื่องเลเซอร์ชั้นนำของโลกเป็นเครื่องที่มีช่วงความยาวคลื่น 755nm ที่สามารถรักษาฝ้า รอยโรคที่เกิดจากเม็ดสีในทุกสีผิว จางหายไปอย่างเห็นผลชัดเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจุดเด่นของ PicoSure Pro ที่แตกต่างจาก Pico เครื่องอื่น ๆ คือหลังการรักษาแทบจะไม่ต้องพักฟื้น ใบหน้าจะแดง ๆ อมชมพูเล็กน้อย ไม่มีจุดเลือดออก โดยอาการดังกล่าวจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 ชม. ในการรักษาฝ้าหรือเม็ดสีที่ผิดปกติ อาจพบได้ว่ามีความเข้มขึ้นและจะค่อย ๆ จางลงภายในประมาณ 24 ชม.หลังการรักษา
การรักษาฝ้าควรอยู่ใต้การดูแลของแพทย์เพื่อความปลอดภัยลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ และการรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์แม้จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยได้รับความนิยมสูงก็ควรเลือกรักษากับแพทย์ที่มีความชำนาญการ การเลือกเครื่องเลเซอร์ให้เหมาะกับกลุ่มฝ้าเพราะหากเลือกเครื่องเลเซอร์ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ฝ้าเข้มขึ้นได้ และจะต้องใช้ความอดทนและระยะเวลาในการรักษา แต่หลังจากการรักษาจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ฝ้าจากลงเรื่อยๆ อย่างเห็นได้ชัดที่ The Signature Clinic มีบริการรักษาฝ้าหลายวิธีด้วยแพทย์ผู้ชำนาญการพร้อมให้การดูแลและวางแผนการรักษาที่เหมาะกับเฉพาะบุคคลเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุดครับ