ฉีดสลายฟิลเลอร์ คืออะไร แก้ฟิลเลอร์ หลังฉีดแล้วมีปัญหา [2024]

ฟิลเลอร์เยอะเกินไปดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือเจอปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน ทำให้ผิวดูไม่เรียบเนียน ฉีดสลายด้วยเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL)

การฉีดฟิลเลอร์เป็นนวัตกรรมเสริมความงามที่ได้รับความนิยมมาก ๆ ในปัจจุบัน เพราะเมื่อฉีดครั้งนึงผลลัพธ์อยู่ได้นานเป็นปี แต่ในบางครั้งหลังฉีดไปแล้วผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ ฟิลเลอร์เยอะเกินไปดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือเจอปัญหาฟิลเลอร์เป็นก้อน ทำให้ผิวดูไม่เรียบเนียน และบางคนอาจจะฉีดด้วยฟิลเลอร์ปลอม 

การฉีดสลายฟิลเลอร์จึงเป็นวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี ที่จะช่วยคืนสภาพผิวให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม หรือดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น ในบทความนี้หมอมีข้อมูลเกี่ยวกับการ “ฉีดสลายฟิลเลอร์” มาแนะนำครับ ว่าสลายได้ในกรณีไหนบ้าง อันตรายมั้ย รวมถึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์

 

การฉีดสลายฟิลเลอร์ คืออะไร

การฉีดสลายฟิลเลอร์ (Dissolving Filler)  คือ การฉีดเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL) ซึ่งเป็นสารสลายเนื้อฟิลเลอร์เข้าไปใต้ชั้นผิวหนังในตำแหน่งที่มีเนื้อฟิลเลอร์อยู่ เอนไซม์จะทำปฏิกิริยากับฟิลเลอร์ ลดการจับตัวกันของโมเลกุลฟิลเลอร์ให้ค่อย ๆ สลายตัวลงและถูกขับออกจากร่างกายไปในที่สุดผิวทำให้ผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ยุบกลับมาเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงอย่างเดิมมากที่สุด

แต่การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยไฮยาลูโรนิเดส จะสามารถฉีดสลายได้เฉพาะฟิลเลอร์แท้ หรือ HA Filler ที่เป็นไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่ได้มาตรฐาน อย.ไทย เท่านั้นครับ

การฉีดเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase:HYAL)

ปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์ที่ต้องแก้ คืออะไร

  • ฟิลเลอร์อุดตันเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่เข้าไปเลี้ยงบริเวณที่ฉีด จำเป็นต้องมาพบแพทย์และทำการฉีดสลายฟิลเลอร์อย่างเร่งด่วนในทันที โดยให้สังเกตุอาการดังนี้
    • ปวดมากในขณะฉีดฟิลเลอร์
    • มีผิวซีดทันทีหลังฉีด เนื่องจากเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้น ๆ ได้
    • มีอาการบวมแดงตามแนวเส้นเลือดในบริเวณที่ฉีด
    • ปวดแสบปวดร้อน รู้สึกคัน มีหนองขึ้นตามบริเวณที่ฉีด เป็นอาการของเนื้อตายจากการฉีดฟิลเลอร์ โดยตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตายมากที่สุด คือ หว่างคิ้ว ร่องแก้ม จมูก และหน้าผาก
  • ฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ไม่เรียบเนียน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ
    • แพทย์ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง
    • เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ปลอม 
    • แพทย์ประเมินปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับตำแหน่งที่ฉีด
    • โครงสร้างใบหน้าของคนไข้ หรือปัญหาของคนไข้
  • เกิดมีเงาสีเทาใต้ตาภายหลังจากการฉีดฟิลเลอร์ หรือเรียกว่าภาวะ Tyndall effect เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ตื้นเกินไปบนผิวหนัง ทำให้ผิวดูมีสีอมเทา มีเงาตามกล้ามเนื้อใต้ตา และใต้ตาดูหมองคล้ำกว่าเดิม
  • ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าแข็ง ไม่ละมุน ดูเป็นธรรมชาติ   
  • ฉีดสลายเพื่อเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมต่อการทำศัลยกรรม เช่น ฉีดสลายฟิลเลอร์จมูกก่อนเสริมจมูก

ปัญหาจากการฉีดฟิลเลอร์

ฉีดสลายฟิลเลอร์ อันตรายมั้ย

การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วย Hyaluronidase เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการสลายฟิลเลอร์ถ้าทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ แต่ก็มีข้อควรระมัดระวังอย่างการใช้ปริมาณยา หากใช้ปริมาณมากเกินไปอาจทำอันตรายต่อชั้นผิวหรือสลายคอลลาเจนที่มีอยู่เดิมได้ แต่ในบางคนอาจมีการแพ้ยาฉีดสลายฟิลเลอร์ มีอาการข้างเคียงได้เช่น คัน บวม แดง บริเวณที่ฉีดเล็กน้อย แนวทางการรักษาก็จะมีการให้ยาแก้แพ้และประคบเย็นเพื่อลดอาการ แต่ถ้าหากมีอาการแพ้มาก เช่น บวมมาก ปวดมาก แดงมาก คันมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ครับ

 

สิ่งที่ควรรู้ ก่อนฉีดสลายฟิลเลอร์

การฉีดฟิลเลอร์แม้จะไม่ใช่หัตการที่อันตรายแต่ก็ควรเลือกคลินิกหรือสถานประกอบการพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐานมีแพทย์ดูแลให้การรักษาปลอดภัย ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ใช้ยาแท้ผ่านอย. สามารถตรวจสอบได้ คลินิกสะอาด รวมถึงแพทย์ต้องมีความชำนาญ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ได้ประสิทธิภาพ ตรงจุดมากที่สุด และไม่ต้องเสียเงินซ้ำซ้อนครับ

โดยก่อนฉีดควรได้รับการปรึกษา ทำการประเมินเบื้องต้นก่อน เนื่องจากหากปริมาณของไฮยาลูโรนิคเดสที่ใช้ในการฉีดสลายฟิลเลอร์มีปริมาณที่มากเกินไปหรือปริมาณไม่เหมาะสมกับบริเวณที่ต้องได้รับการแก้ไข อาจทำให้เกิดการทำลายคอลลาเจนบริเวณชั้นผิวหนังที่ทำการฉีดได้ และคนไข้จำเป็นที่จะต้องแจ้งข้อมูลให้ทางแพทย์ทราบอย่างละเอียด ประกอบไปด้วย สถานที่ฉีด, วันที่ทำการฉีด, คุณหมอที่ทำการฉีด, ยี่ห้อและรุ่นของฟิลเลอร์ที่ฉีด, ปริมาณฟิลเลอร์ที่ฉีด, และตำแหน่งที่ฉีด

 

ฉีดสลายฟิลเลอร์ ใช้ในกรณีใดบ้าง?

การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยไฮยาลูโรนิเดส จะสามารถฉีดสลายได้เฉพาะฟิลเลอร์แท้ หรือ HA Filler ที่เป็นไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) ที่ฉีดกับแพทย์และคลินิกที่ได้มาตรฐานสามารถฉีดสลายได้ครับ

แต่หากฉีดฟิลเลอร์ที่เป็นของปลอม คือไม่ใช่ HA Filler เป็นฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่สามารถสลายตัวได้เองหรือไม่ผ่าน อย. ฟิลเลอร์ประเภทนี้ราคาถูกแต่ไม่มีประสิทธิภาพ ช่วงแรกหลังฉีดสลายฟิลเลอร์อาจจะสวยงามเรียบเนียนใกล้เคียงผิวเดิม แต่หลังจากนั้นเนื้อฟิลเลอร์จะเกาะกลุ่มเป็นก้อนไหลและห้อยย้อยไม่เป็นทรง ไม่เป็นรูปร่างเหมือนเก่า เปลี่ยนสภาพไปตามกาลเวลา ดังนั้นจึงไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ประเภทนี้เด็ดขาด เพราะไม่มีตัวยาที่จะมาฉีดสลายออกได้ต้องทำการขูดออกหรือศัลยกรรมผ่าตัดออกเท่านั้น แต่ทั้งนี้การผ่าตัดเพื่อขูดสารดังกล่าวเหล่านั้นออก ก็อาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาท ซึ่งจะทำให้เกิดอาการชา หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว หรือทำให้เนื้อส่วนดีบางส่วนแหว่งหายไปได้ จึงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการรักษาครับ

การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วย Hyaluronidase

ฉีดสลายฟิลเลอร์ ต้องฉีดกี่ครั้ง ?

การฉีดสลายฟิลเลอร์ ปกติเพียงครั้งเดียวก็สลายได้หมดครับ ถ้าแพทย์ฉีดยาสลายฟิลเลอร์เข้าชั้นผิวหนังอย่างถูกตำแหน่ง จะสามารถสลายฟิลเลอร์ได้ทั้งหมด 100% แต่กรณีที่ฉีดมาเป็นก้อนใหญ่ หรือในปริมาณที่มาก แพทย์อาจต้องทำการสลายถึง 2 ครั้ง โดยต้องเว้นระยะห่างจากครั้งแรกประมาณ 5-7 วันครับ

 

หลังฉีดสลายแล้ว จะฉีดฟิลเลอร์ใหม่ได้วันไหน ?

หลังจากฉีดสลายฟิลเลอร์แล้ว หากต้องการฉีดฟิลเลอร์ใหม่ ควรจะทิ้งระยะห่างหลังฉีดสลายประมาณ 5-7 วัน ไม่ควรฉีดใหม่เลยทันทีเนื่องจากยาฉีดสลายฟิลเลอร์ยังออกฤทธิ์อยู่ ซึ่งระยะเวลา5-7 วันจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเนื้อเยื่อผิวบริเวณที่ฉีดสลายไปแล้วนั้นเริ่มเข้าที่และหายบวมหลังฉีดยาสลายแล้ว

 

หลังฉีดสลายฟิลเลอร์ เห็นผล สลายทันทีหรือไม่ ?

หลังการฉีดสลายฟิลเลอร์จะเกิดการยุบตัวลงทันทีหลังฉีดประมาณ 10-20% และจะเห็นผลลัพธ์ที่สุดประมาณ 3 วัน เพราะตัวยาสลายฟิลเลอร์จะมีการผลักน้ำใต้ผิวออกไปด้วย โดยหลังจากการทำหัตถการประมาณ 5-7 วัน ฟิลเลอร์จะสลายเต็มที่ น้ำกลับมาเติมเต็มใต้ผิวอีกครั้ง ทำให้ผิวอิ่มฟูใกล้เคียงก่อนฉีดครับ 

 

ผลข้างเคียง

การฉีดสลายฟิลเลอร์ด้วยไฮยาลูโรนิคเดส (Hyaluronidase) อาจส่งผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์ได้ แต่มีอาการไม่รุนแรง และสามารถหายไปได้เองใน 5 – 7 วันขึ้นอยู่กับผิวของแต่ละบุคคล เช่น อาการบวม แดง คัน บริเวณที่ฉีด สามารถทานยาแก้แพ้และประคบเย็นเพื่อลดอาการได้ครับ

แต่มีข้อควรระวังเพิ่มเติม สำหรับผู้มีอาการแพ้คอลลาเจนจากวัว และมีอาการแพ้จากผึ้งต่อย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการฉีดสลายฟิลเลอร์ และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการรักษาในการแก้ไขปัญหาจากฟิลเลอร์ด้วยวิธีอื่นแทน เนื่องจากอาการแพ้ดังกล่าวอาจทำให้ไฮยาลูโรนิคเดสส่งผลปฏิริยาที่รุนแรงต่อร่างกายได้

 

Share the Post:

บทความอื่น ๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Scroll to Top